บันทึกการเรียน
ครั้งที่
5
วันจันทร์
ที่ 5 กันยายน พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน
บทที่ 4
โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
โครงการ แม่สอนลูก
ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู
กระทรวงศึกษาธิการ
1. จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส
โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
2. ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ
รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
3. ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน
โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
4. มารดามีความพอใจในกิจกรรม
มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึ้น
5. เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้
เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก
6. ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
จ.อุบลราชธานี
7. เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน
ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
8. เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน
แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
9. มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก
โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย
โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญเพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง
ประกอบด้วย
1. แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
2. คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
3. หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
4. ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
5. จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว
“บ้านล้อมรัก”
ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา
เสพติด ภายใต้คำขวัญ “พลังครอบครัวไทย
ชนะภัยยาเสพติด” เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่
ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด
โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
1. ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
2. ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น
สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
3. สื่อสิ่งพิมพ์
ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
4. กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว
เช่น เกม กีฬา เป็นต้น
โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart
Thailand)
โครงการหนังสือเล่มแรก
เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ
“รวมพลัง รักการอ่าน”
โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
ดำเนินงานโดยกองสูตินารีเวชกรรม
พร.พระมงกุฎเกล้า ได้เปิดบริการให้เตรียมความพร้อมแก่คู่สมรสที่กำลังเตรียมใช้ชีวิตคู่
ให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ของชีวิตสมรส
วัตถุประสงค์เพื่อ
พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว
เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต
มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก
โครงการ
การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
โครงการ
การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง
เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น
จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี
โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย
ที่เรียกว่า ALEH (Early
Childhood Enrichment Center)
ศูนย์ ALEH
จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้
1. สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์
(ของเล่น)
2. จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก
3. ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก
จัดกิจกรรมเสนอแนะให้แม่ที่ไม่เคยมีเวลาว่างไปร่วมในศูนย์ ALEH
เพื่อจัดกิจกรรมในข้อขั้นต้น
โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก
เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
เป็นการจัดการศึกษานอกระบบแก่พ่อแม่ก็ว่าได้
โดยโครงการนี้ชื่อ HATAF โปรแกรม
โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
จัดขึ้นสำหรับเด็ก 4-6
ปี พร้อมด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง วัตถุประสงค์เพื่อ
ส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างร่วมกับลูกในการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
และสนุกกับกิจกรรม-ผลงานที่ลูกสร้างขึ้น โดยมีวิทยากรเป็นครูจากเนสเซอรี่ หรือ รร.อนุบาลหรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ-ดนตรี
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
จัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา
และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ
โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
ให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง
ภายใต้คำนิยาม “การศึกษาของพ่อแม่ (Parent
Education) “โครงการพ่อแม่ในฐานะครู” (Parents
as Teachers Program) และ “โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน” (Home Instruction for Preschool Youngsters Program)
โครงการ เฮดสตาร์ท (Head
Start)
โครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ
3-5
ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย
และบริการด้านสังคมแก่ครอบครัวของเด็กเหล่านั้น
การบริการเฉพาะสำหรับเด็กเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย
จิตใจและโภชนาการ พื้นฐานสำคัญของโครงการนี้คือ การมีส่วนร่วมของพ่อแม่และชุมชน
โครงการ โฮมสตาร์ท (Home
Start Program)
เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก
และชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาส
โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart
Start)
ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น
ผู้ว่าการมลรัฐแคโรไลนาเหนือ ในปี พ.ศ. 2536 ได้จัดให้มีคณะทำงานศึกษาสาระปัญหาเด็กเล็ก
โดยเฉพาะในด้านการอบรมเลี้ยงดูและการศึกษาของเด็กเล็ก
ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ดำเนินโครงการ
โครงการ Brooklyne
Early Childhood
เป็นโครงการที่ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก ดำเนินการโดย Brooklyne
Public School ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก
ในการจัดการศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
ครูอนุบาลที่มีความสามารถจะให้โอกาสผู้ปกครองและครอบครัวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก
การเรียนการสอน และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยในช่วงที่มีการเรียน
โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
ว่า
พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน
โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรองและมาสมารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้ประมาณหนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ
ปรัชญาในการทำงานคือ
“พ่อแม่คือครูคนแรก
และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”
โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
จัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง
เพื่ออธิบายถึงปรัชญาที่เป็นรากฐานของการศึกษาปฐมวัย
และนโยบายเรื่องประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง
โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
โครงการที่ให้ความช่วยเหลือแนะนำและให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ความเข้าเข้าใจพัฒนาการของเด็กก่อนเกิดและตั้งแต่เกิดถึง
3
ขวบ
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
มีรูปแบบในการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในลักษณะที่เรียกว่า
(Early Childhood Center) หรือ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby Health
Center) เป็นศูนย์ที่ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5
ปี เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะเป็นพยาบาลทั่วไป
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ
(Bookstart
UK)
โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ
เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์
“ถุงบุ๊คสตาร์ท”
ภายในถุงประกอบด้วย
1.
หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว
2
เล่ม
2.
หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
3.
ของชำร่วยสำหรับเด็ก
เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
4.
แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
5.
บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
6.
รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
7. รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น
(Bookstart
Japan)
ปี พ.ศ. 2543
ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น “ปีแห่งการอ่านของเด็ก”
และได้มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น
โดยมีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า
ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก
เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี
“หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง
การประยุกต์ใช้
คุณครูต้องให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก
เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ
ประเมิน
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจเรียนและในเวลาอาจารย์สอนก็พยายามทำความเข้าใจและจดเนื้อหา
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนกันมากค่ะ มีแอบหลับกันบ้างนิดหน่อยค่ะ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใส
เตรียมการสอนและเตรียมวิดีโอมาให้ดูด้วยค่ะ ในการเรียนอาจารย์จะคอยอธิบายเพิ่มเติมให้ตลอดทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น